ครูมวยต้องเป็นคนถือศีล มีธรรมะ (ตอนที่ 2)
3 สังคหะวัตถุสี่ คือ ธรรมะอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจผู้อื่น ไค้แก่
ทาน คือ การให้ ครูมวย ควรเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ความคิดให้แก่นักกีฬาด้วยความเต็มใจ ให้กำลังใจ ให้ความรักความเมตตาหรือให้เป็นสิ่งของเป็นต้น
ปิยวาจา ครูมวยควรเป็นผู้ที่เจรจาด้วยถ้อยคำไพเราะ ไม่ตุดัน แม่ไนขณะที่ โกรธหรือไม่พอใจ ก็ควรจะใช้ความอดทน ประหยัดถ้อยคำและพูดจาให้เหมาะสม การช่วย เหลือหรือให้คำปรึกษาต่าง ๆก็ใช้คำพูดที่ดีและเหมาะสม
อัตถะจริยาครูมวยควรเป็นผู้ประพฤติหรือกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นตัวอย่างที่ดี
สมานัตตตา ครูมวยควรจะเป็นกันเองกับนักกีฬาไม่ถือตัว หรือวางตัวเกิน ไปจน ไม่กล้าที่จะชักถามหรือแสดงความคิดเห็น
4 ขันติโสรัจจะ เป็นธรรมะที่ช่วยให้ครูมวยเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยไม่ตรี มีบุคลิก ภาพที่ดี เป็นที่น่ายกย่องนับถือแกบุคคลทั่วไป ไค้แก
ขันติ ครูมวยจะต้องมีความอดทนและอดกลั้น
โสรจจะ ครูมวยควรมีความสงบเสี่ยม มีกิริยามารยาทเรียบร้อย สุภาพอ่อน โยนเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักมวยไทย
5คารวะ คือ ความเคารพ เป็นคุณธรรมสำหรับผู้ที่อยู่ร่วมกัน ครูมวยจะต้อง เป็นผู้ที่มีความเคารพต่อความคิดเห็นของนักมวยไทย ใจกว้าง ยอมรับความคิดเห็นของทุกคน และพยายามอยู่เสมอที่จะเปิดโอกาสให้นักมวยไทย ไค้แสดงความคิดเห็นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำ
เนื่องจากว่ามวยไทยในประเทศไทยนั้นได้รับการพัฒนาและการเติบโตมาพร้อมพร้อมกับความเชื่อในประเทศไทยนั่นก็คือการไหว้ครูหรือการมีครูเวทย์มนต์คาถาต่าง ๆนั่นเองดังนั้นคู่มวยที่ดีจึงจะต้องถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และถือธรรมะดังที่กล่าววันนี้